การบำบัดทางจิตหรือลองฝึกสมาธิมาก่อนจะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ

35

บางครั้งที่เราเจอปัญหา หรืออะไรมาสะกิดใจเพียงนิดเดียว ก็เกิดอาการควบคุมจิตใจไม่ได้ เกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย มีเรื่องรบกวนไปเสียหมด นั่นเพราะไม่เคยรับการบำบัดทางจิต หรือลองฝึกสมาธิมาก่อน หลายคนที่เคยลองฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ จะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และยังมีสติ ทำอะไรด้วยความไม่ประมาทด้วย วันนี้ เราขอชวนเพื่อน ๆ มาลองฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดู ซึ่งโดยปกติแล้ว “สมาธิ” มีหลายประเภท แต่สมาธิที่ฝึกง่ายที่สุด ประหยัดเวลา และได้ผลที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปฏิบัติ ก็คือ “อานาปานสติ” หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่เราส่วนใหญ่ก็เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั่นเอง โดยหลักการฝึกสมาธิเบื้องต้นแบบง่าย ๆ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ควรอาบน้ำ ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อน เพื่อให้ตัวรู้สึกสบายมากที่สุด เมื่อร่างกายสงบ จิตใจจะสงบได้ง่ายขึ้นหาสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่านจอแจ อากาศถ่ายเท เย็นสบาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมากขึ้นพยายามตัดความกังวลทุกอย่างออกไป เช่น ควรจัดการงานที่คั่งค้างอยู่ในเสร็จก่อนเริ่มทำสมาธิ เพื่อไม่ให้ห่วงหน้าพะวงหลังอย่าตั้งใจมากเกินไป ว่าจะต้องให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเคร่งเครียดมากขึ้น จิตใจจะพะวงไปแต่อนาคต ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ ณ ปัจจุบัน

กราบบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ ควรนั่งทำสมาธิในท่าขัดสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย วางไว้บนตัก หลังตรง ศีรษะตรง ไม่ควรนั่งพิง เพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย กรณีเป็นคนป่วย หรือคนที่ไม่สามารถนั่งท่าขัดสมาธิได้ ก็สามารถนั่งบนเก้าอี้แทนได้ จากนั้นทอดตาลงต่ำ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้ร่างกายปวดเมื่อย แล้วค่อย ๆ หลับตาลง ส่งจิตไปให้ทั่วร่างกาย ว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดเกร็งอยู่หรือไม่ แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ลึก ๆ มี “สติ” อยู่กับลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก เมื่อเริ่มฝึกสมาธิใหม่ ๆ ควรใช้เวลาแต่น้อยก่อน เช่น 5-15 นาที จากนั้นเมื่อฝึกบ่อย ๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มระยะเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อย ๆ ปรับตัวตาม หากรู้สึกปวดขา หรือเป็นเหน็บ ให้พยายามอดทนให้มากที่สุด หากทนไม่ไหวจึงค่อยขยับ แต่ควรขยับให้น้อยที่สุด เพราะการขยับแต่ละครั้งจะทำให้จิตใจกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ แต่ถ้าหากอดทนจนอาการปวด หรือเป็นเหน็บเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการเหล่านั้นจะหายไปเอง แล้วจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่

การฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน

34

มีความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามแนวทางพุทธศาสนาในหมู่คนที่มิใช่ชาวพุทธหรือแม้แต่ในชาวพุทธบางกลุ่ม ที่มีความเห็นว่า การฝึกสมาธิเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นการหนีโลกหนีความจริงในการดำเนินชีวิตประจำวันการที่มีความเห็นเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากมีความเข้าใจในเป้าหมายของการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามหลักทางพุทธศาสนายังไม่ถูกต้อง โดยนำไปปะปนกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบนั่งหลับตาสวดมนต์ท่องบ่นคาถาอ้อนวอนเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการทำสมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนาที่มุ่งเพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตให้เกิดความสงบ มีดุลยภาพต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันอีกประการหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจคือการปฏิบัติที่มุ่งฝึกสมาธิในระดับสูงขึ้นโดยการปลีกวิเวกแสวงหาที่สงบเงียบในบรรยากาศที่สงัด แม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการหลงยึดติดอยู่แค่นั้น ก็๋ยังนับว่าเป็นอุปสรรคต่อความเห็นแจ้งในสัจธรรมตามหลักการทำสมาธิในทางพุทธศาสนา

ตามความหมายที่แท้จริงนั้น สมาธิ หมายถึง การภาวนาหรือการพัฒนาระดับของจิตใจ เพราะว่าจิตเป็นตัวกำหนด เป็นตัวควบคุมและเป็นตัวปรุงแต่ง ที่มีความสำคัญต่อการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ก็ตาม ดังนั้นจิตที่ได้รับการฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน แม้ว่านิพพานนั้นอาจจะยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาซึ่งคนส่วนใหญ่มุ่งหวังเพียงเพื่อแสวงหาประโยชน์สุขในระดับโลกิยะ ในทางพุทธศาสนา มีเป้าหมายในการทำสมาธิอยู่ 2 ประการคือเพื่อ ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ เพื่อการแสวงหาความสงบสุขระหว่างที่อยู่ในระยะการปฏิบัติสมาธิ เช่นเมื่อบรรลุฌาน 4 ในชั้นรูปฌาน จะเสพอารมณ์ ปีติ สุข สงบ ไปจนถึงความสุขอันประณีตในชั้นอรูปฌาน อันได้แก่ ความสว่างอันสงบ หรือความสุขในการสำเร็จอภิญญาจากการปฏิบัติ กับอีกเป้าหมายหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุด คือ เพื่อใช้เป็นฐานนำไปสู่การปฏิวัติวิปัสสนาภาวนาด้วยการนำ สติ สัมปชัญญะ และ ปัญญา มาเพ่งพินิจพิจารณาเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

การฝึกสมาธิเพื่อคุณภาพการดำรงชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น


หลายๆ อย่างในโลกเราทุกวันนี้ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมามาก ยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารแบบทุกวันนี้แล้ว เราได้รับข้อมูลต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องการงาน เรื่องเรียน เรื่องทั่วไป เรื่องกีฬา การเมือง ต่างๆ บางครั้งการรับรู้รับเห็น รวมทั้งการทำงานของเราที่ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็ทำให้เราเกิดความเครียด เกิดความวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว กังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว กังวลต่อสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ทุกสิ่งอย่างเหล่านี้ก่อเกิดผลเสียกับร่างกายทีละน้อยๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยความเคยชิน หรือแม้แต่ไม่รู้เท่าทันสิ่งที่บั่นทอนชีวิตเราเหล่านั้นอยู่ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า มีวิธีการที่เราสามารถป้องกันตัวจากผลเสียเหล่านั้นได้ นั่นคือการนั่งสมาธิ หรือการทำสมาธินั่นเองค่ะ

การทำสมาธิ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ของการกระทำกิจกรรมการใดทั้งปวง หากทำสิ่งใดโดยขาดสมาธิ ย่อมประสบผลเสียไม่มากก็น้อย การทำสมาธิโดยปกติชีวิตประจำวัน คงไม่ต้องถึงกับต้องนั่งสมาธิก่อน ทำกิจกรรมต่างๆ แต่ควรฝึกการทำและมีสมาธิมาจากการนั่งก่อน เพื่อความคล่องแคล่วในสมาธิ จากนั้น จึงพัฒนาเป็นการเดินหรือเพ่งกสิณต่อไปเพื่อปฏิบัติที่ยิ่งกว่า เพียงนั่งสมาธิ จนสามารถควบคุมสมาธิ ได้คล่องบ้าง แม้ทำกิจกรรมใดย่อมสามารถรวบรวมสมาธิได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึก เป็นผลโดยตรง ของความเจริญก้าวหน้าในการงาน การดำรงชีวิต และการปฏิบัติธรรมะขั้นสูง

ประโยชน์ที่ได้จากการนั่งสมาธิ
เรียกได้ว่าการทำสมาธิเป็นสิ่งมหัศจรรย์แบบไม่ต้องจ่ายเงินเลยทีเดียว (อาจจะทำให้จ่ายเงินน้อยลงด้วยซ้ำไป) เพราะไม่ได้ต้องการอุปกรณ์อะไรเลย สมาธิทำให้สมองปลอดโปร่ง เมื่อสมองมีสมาธิ คลื่นไฟฟ้าสมองชนิดดีที่ทำให้สมองสงบจะเพิ่มขึ้น ความสับสนวุ่นวายในสมองก็จะลดลง เมื่อความสับสนลดลงก็จะทำให้อารมณ์ดี จิตใจดี ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่ขี้กลัวแตกตื่นโดยไม่มีเหตุผลอันควร มองโลกในแง่ดี มีผลให้พูดจาอะไรกับใครก็น่ารักน่าฟัง เลือดไหลเวียนสู่สมองได้ดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง (ตรงกันข้ามกับอาการตื่นเต้นตกใจ เร่งเร้าให้ต้องตัดสินใจ) หลอดเลือดทำงานเบาลง ความดันโลหิตลดลง นอกจากนี้สมาธิที่ดียังกระตุ้นให้ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อการติดเชื้อมากกว่าด้วยค่ะ