หลักการพื้นฐานในการจำนองบ้านหรือที่ดิน

สินเชื่อจำนองรวมเงินกู้อาจจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาหนี้ดอกเบี้ยสูงของคุณ หนี้บัตรเครดิตเป็นสิ่งที่ผู้กู้มักเลือกที่จะรวมเป็นครั้งแรกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและการชำระเงินรายเดือนสูงมาก โดยการดำเนินการรีไฟแนนซ์เงินสดออกจากการจำนองครั้งแรกหรือครั้งที่สองคุณสามารถรวมหนี้ที่ไม่ใช่การจำนองของคุณหนี้จำนองหรือทั้งสองอย่าง

หนี้จำนองรวมถึงการจำนองครั้งแรกและการจำนองที่สอง

เช่นสายส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หนี้ที่ไม่มีการจดจำนองจะเป็นบัตรเครดิตค่ารักษาพยาบาลเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสินเชื่อรถยนต์เงินให้สินเชื่อรวมอื่น ๆ และสินเชื่อส่วนบุคคล การรีไฟแนนซ์เงินสดออกเป็นวิธีการรีไฟแนนซ์สินเชื่อทั่วไปที่สามารถลดการชำระเงินรายเดือนของคุณเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของคุณจากตัวแปรเป็นคงที่หรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของเงินกู้ของคุณ

คุณมีอย่างน้อยสี่เทคนิคยอดนิยมที่จะต้องพิจารณาเมื่อสร้างเงินกู้จำนองรวมเงินกู้ คุณสามารถรวมหนี้ที่ไม่ใช่หนี้จำนองไว้ในการจำนองครั้งแรกได้ คุณสามารถจำนองที่สองเป็นครั้งแรกได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือการรวมหนี้ที่ไม่มีการจดจำนองและการจำนองที่สองเข้าไว้ในครั้งแรกของคุณ และในที่สุดคุณอาจต้องการที่จะรวมหนี้ที่ไม่ใช่หนี้จำนองในการจำนองที่สอง

การผิดนัดในการจำนองของคุณอาจนำไปสู่การยึดสังหาริมทรัพย์

และการสูญเสียบ้านของคุณ สินเชื่อรวมสินเชื่อจำนองไม่ได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ยืมต้องตระหนักถึงตัวเลือกทั้งหมดของตนเมื่อต้องรับมือกับหนี้ หนึ่งหนี้นิยมที่จะรวมกับสินเชื่อรวมสินเชื่อจำนองเป็นบัตรเครดิต ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลาย ๆ คนใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงบัตรเครดิตที่มีจำนองที่ดินและบ้าน เบื้องต้นต่ำๆ หรือไม่ต้องเสียยอดเงินโอน หลังจากช่วงเวลาเบื้องต้นอัตราดอกเบี้ยมักจะกระโดดเป็นตัวเลขสองหลัก หลังจากเรียกใช้ยอดคงเหลือที่สูงขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้หนี้บัตรเครดิตยากที่จะดำเนินการ

การรีไฟแนนซ์เงินสดออกสามารถลดการชำระเงินรายเดือนของคุณเปลี่ยนอัตราจากตัวแปรเป็นคงที่หรือเปลี่ยนระยะเวลาเงินกู้ของคุณ โดยปกติจะมีการรีไฟแนนซ์เงินกู้จำนองเงินกู้ที่รวมอยู่ในวงเงินกู้ที่ จำนองที่มีอยู่ของคุณด้วยเงินกู้ขนาดใหญ่โดยใช้ส่วนได้เสียในบ้านของคุณและเก็บเงินสดแตกต่างเงินสดนี้จะสามารถนำไปจ่ายหนี้ที่ไม่ใช่หนี้จำนองเช่นบัตรเครดิตค่ารักษาพยาบาลเงินให้กู้ยืมแก่นักเรียนเงินให้สินเชื่อรถยนต์สินเชื่อรวมอื่น ๆ และสินเชื่อส่วนบุคคล ตอนนี้คุณจะต้องชำระคืนเงินกู้และกู้เงินรายเดียวเท่านั้น

การจำนองที่สองคือเงินกู้ที่ได้รับจากการจำนองครั้งแรกของคุณ ประเภทของการจำนองที่สอง ได้แก่ สายการลงทุนตราสารทุน และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย  น่าสนใจเนื่องจากเป็นเครดิตที่คุณสามารถแตะเข้ามาซ้ำ ๆ ได้ สำหรับบางส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพราะมักจะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่

สถานที่ฝึกสมาธิในกรุง

%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87

หลายคนอาจจะเบื่อกับการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ หรืออาจจะอิ่มตัวจากการทำงาน จนหลายคนมองหาหนทางสู่ความสูขที่เป็นสุขอย่างแท้จริง อาจจะเริ่มจากการนั่งสมาธิ ที่ช่วยให้จิตใจเราไม่ว้าววุ่น นอกจากนี้แล้ว การทำสมาธิจะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้อะไรอีกมากมาย เรามาดูกันว่าหากเราปฏิบัติเช่นนั้นแล้ว จะเกิดประโยชน์อะไรแก่ตัวเองบ้าง

  1. ช่วยผ่อนคลายความเครียด

การทำสมาธิเมื่อจิตใจเรานิ่งมากๆ ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจแล้ว สารแห่งความสุขจะหลั่งไหลออกมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้อย่างปลิดทิ้ง และอาจทำให้มีความสุขอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน

  1. ช่วยให้จิตใจผ่องใส อ่อนโยน

การทำสมาธินั้นช่วยให้จิตใจเรานิ่งสงบ ท่ามกลางจิตที่กำหนดภายใต้ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เราจะรู้ตัวตลอดเวลา สามารถตามทันทุกอารมณ์ ยิ่งเรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ลึกๆ ด้วยแล้ว มันจะยิ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจเราในตัว ทำให้เราเป็นคนสุขุมนุ่มลึก ใจเย็น อ่อนโยนและมองโลกรอบตัวในแง่ดีมากขึ้น อารมณ์ของเราก็จะแจ่มใส และยังส่งผลไปถึงสุขภาพที่ดีตามมาอีกด้วย

  1. ช่วยให้ความจำดีและสมองทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับนักเรียน นักศึกษาหรือแม้แต่คนวัยทำงานที่จะต้องใช้สมองในการคิด และวางแผนมากๆ การทำสมาธิ จะช่วยเสริมสร้างในความจำดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดสมาธิ ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

  1. ทำให้เราได้บุญ

เวลาที่เราทำสมาธิหลายคนมักจะเตรียมตัวเริ่มทำด้วยการสวดมนต์เพื่อกล่อมใจให้สงบ จากนั้นก็มานั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ใจที่ปล่อยวางเป็นสุข เมื่อใจเราเป็นสุขเราจะไม่ปรารถนาซึ่งสิ่งใดบนโลกนี้อีกทั้งปวง แม้แต่การโกรธเราก็สามารถระงับได้ กลายเป็นการให้อภัยทานแก่เจ้ากรรมนายเวรและคนที่เราไม่ชอบใจ เราจะได้หลุดพ้นจากบ่วงของกิเลส และเพียงแค่ทำสมาธิให้จิตใจสงบนิ่งเยือกเย็นจากที่บ้าน ง่ายๆ แค่นี้ก็ถือเป็นการสะสมบุญในตัวอย่างที่คุณไม่คาดคิด

 

สำหรับสถานปฏิบัติธรรมก็มีหลายที่ จะขอยกตัวอย่างในกรุงเทพ ได้แก่

  1. เสถียรธรรมสถาน

สถานที่ปฏิบัติธรรม ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น โดยมี แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เป็นผู้ก่อตั้ง

ที่อยู่ : 23 ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา 55 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230

  1. วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

เป็นวัดที่มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น เงียบสงบ ตกแต่งด้วยต้นไม้น้อยใหญ่อย่างสวยงาม ซึ่งมี พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) เป็นวิปัสสนาจารย์ มีแนวการปฏิบัติตามแนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น และมีการภาวนา “พุทโธ” โดยจะนั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักบริการให้พร้อม

ที่อยู่ : ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

  1. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

สถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) เป็นวิปัสสนาจารย์ โดยมีแนวการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 และใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” ซึ่งสถานที่ปฏิบัติอยู่บริเวณคณะ 5 สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ และมีการสอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-10.00 น., 13.00-16.00 น. และ 18.00-19.00 น.

ที่อยู่ : 3 ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

โทรศัพท์ : 0 2222 6011, 0 2222 4981

การฝึกจิตนั่งสมาธิทางออกหรือวิธีบำบัด

ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือหนีจากเรื่องตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงาน สภาพแวดล้อมรอบตัวปัญหารถติดที่คนกรุงต้องพบเจอทุกเช้าเย็น หนี้สินนอกระบบ ข้าวของแพง และอีกร้อยแปดพันอย่างที่นับว่าเป็นเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเครียด หรือเรื่องแย่ๆ แง่ลบที่อยู่ภายในจิตใจ

การฝึกจิตนั่งสมาธิทางออกหรือวิธีบำบัดคงหายากเต็มที แต่ถ้าคุณลองมองดูดีๆนึกอีกทีก็จะค้นพบวิธีการช่วยบรรเทาสภาวะเหล่านั้นได้ด้วยตัวคุณเอง ดังคำสุภาษิตไทยที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”

วิธีที่ว่านี้ไม่ได้ยากหรือต้องใช้เงินลงทุนใดๆ เพียงแค่เริ่มจากจิตใจของคุณเอง นั่นคือ การฝึกจิตสร้างสมาธิ ที่จะนำไปสู่ความสงบ เมื่อเกิดความสงบในจิตใจ แน่นอนว่าสิ่งดีๆในชีวิตก็ตามมา

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้ถึงขั้นตอนวิธีการฝึกสมาธินั้น มาทำความเข้าใจกันคำว่าสมาธิกันก่อนดีกว่าค่ะ

สมาธิ ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็ คือ ความสงบ สบาย มีสติ และความรู้สึกเป็นสุข มีความสุขกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ หรือสิ่งที่เราสร้างขึ้นแล้วมีความสุขกับตรงนั้น

แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่รู้สึกแบบนี้ตกอยู่ในสภาวะจิตใจที่ว้าวุ่น เคร่งเครียด กังวล ควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานค่ะ มาเริ่มฝึกสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบกันดีกว่า เริ่มต้นง่ายๆ จากสิ่งใกล้ตัว คือ “การนั่งสมาธิ”

การฝึกจิตนั่งสมาธิ

หลักการเริ่มต้นทำสมาธิง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยในระยะแรกฝึกนั่งเพียง 10 – 15 นาที ก็เพียงพอ

– ปล่อยวาง ความคิดนึก เรื่องราวต่างๆ ให้หมดไปจากใจ ทำสติจับความรู้สึก อยู่ที่ร่างกายให้รู้สึกว่าตอนนี้ตัวเราว่าขณะนี้นั่งอยู่อย่างไร

– นึกรู้ นึกเห็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเรานั่งขาขวาทับซ้าย ก็รู้ว่าเรานั่งขาขวาทับซ้าย , เรานั่งหลับตา ก็รู้ว่าเรานั่งหลับตา

– น้อมนึกเห็นใบหน้าของเรา ว่ามีลักษณะอย่างไร นึกเห็นตั้งแต่ศีรษะ ตลอดลงมาปลายเท้า นึกเห็นรอบ ตัวเอง แล้วมาพิจารณาอยู่ที่ใบหน้า

นึกถึงภาพให้เห็นคิ้ว เห็นตา เห็นหูทั้งสองข้าง นึกเห็นปาก เห็นคาง เห็นปลายจมูก เห็นรู้ ลมหายใจเข้า-ออก

กำหนดความรู้สึกอยู่ที่สองช่องจมูก หายใจเข้านึกว่า “พุท” หายใจ ออกนึกว่า “โธ” จนรู้อยู่แต่ “พุท-โธ” ทุกลมหายใจเข้า-ออก และร่างกายก็จะเข้าสู่คำว่า “กายสงบ ใจสงบ”

– ในช่วงนี้หากคำภาวนา “พุท-โธ” ได้ละไปแล้วก็ให้พิจารณาลมหายใจ เข้า-ออกเพียงอย่างเดียว (คำ “พุท-โธ” จะหยุดรำลึกไปเอง โดยธรรมชาติอย่าหวนคำรำลึก หรือทวนความรู้สึกใดๆ ขึ้นอีก)

– เมื่อกระแสกลมกลืนกันดีแล้ว จิตจะนิ่งเป็นอิสระ เป็นสุข และเกิดปัญญา รู้เอง เห็นเอง สัมผัสได้ ด้วยจิตเอง

แต่ด้วยความอดทนของคนเราอาจจะมีระยะจำกัดในระยะแรกเพียงแค่ 10 นาที ก็เพียงพอ อย่าฝีนตัวเองมากไปเพราะอาจจะกลายเป็นนอกจากจะไม่ได้สมาธิแล้วยังจะทำให้รู้สึกน่าเบื่อหรือไม่อยากกลับมานั่งสมาธิอีกเลยก็เป็นได้

ปัญหาสมาธิสั้นในเด็ก

imagesสมาธิสั้นเป็นปัญหาของการควบคุมตนเองไม่ได้ ซึ่งจะต้องเป็นมาตั้งแต่เด็ก โดยจะมีอาการหลัก คือ ควบคุมสมาธิไม่ได้ ส่วนจะมีอาการซนอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นด้วยหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเป็นชนิดเหม่อลอยหรือชนิดซน ส่วนมากชนิดเหม่อลอยจะพบในเด็กผู้หญิง และชนิดซนจะพบในเด็กผู้ชาย แต่ก็ไม่เสมอไป สาเหตุในปัจจุบันเท่าที่ทราบก็คือ เกิดจากระดับของสารสื่อประสาทในสมอง คือ นอร์อีพิเนฟฟรีน และโดปามีนในสมอง บริเวณผิวสมองส่วนหน้าของสมองส่วนหน้า สไตเอตรัม และนิวเคลียสแอ็กคัมเบ็นส์ของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีน้อยกว่าปกติ

เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้านแต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจเนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟังพ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตีแม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พฤติกรรมการดุด่าและการลงโทษจะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบหรือตัดสิทธิอื่นๆ

ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโดยปกติเด็กแต่ละวัยจะมีสมาธิไม่เท่ากันอยู่แล้ว เด็กเล็กจะมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโต ในเด็กเล็กๆช่วงขวบปีแรกจะมีสมาธิไม่เกิน 2-3 นาที หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือในช่วง 1-2 ขวบประมาณ 3-5 นาที วัยอนุบาลประมาณ 5-15 นาที และช่วงประถมต้นได้นานถึง 15-30 นาทีขึ้นไป ดังนั้นจะนำเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับเด็กโตไม่ได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ เพราะโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน และการเรียนของเด็กเอง รวมถึงเมื่อเด็กโตขึ้นความซับซ้อนทางอารมณ์ก็จะมีมากขึ้น เด็กอาจรู้สึกมีปมด้อยถ้าไม่มีเพื่อนเล่นด้วย นอกจากนี้เด็กสมาธิสั้นยังมีแนวโน้มที่จะโตไปเป็นคนขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวต่อคำพูดของคนอื่น การรักษาจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

การฝึกสมาธิเพื่อให้เรียน เก่ง

น้องๆ ที่ต้องการจะเรียนหนังสือเก่ง มีความทรงจำดี เรื่อง สมาธิ นี้จะทอดทิ้งไม่ได้เลย ก็เพราะว่า สมาธิ นี้จะเป็นตัวที่เข้าไปช่วย ทำให้สมองปลอดโปร่ง ความทรงจำดี ลองคิดกันดูง่ายๆ เวลาที่จิตใจเราสับสน คิดโน่น คิดนี่ ถ้าเราจะเรียนหนังสือหรือ หรืออ่านตำรา เราจะรู้เรื่องไหม ไม่รู้เรื่องแน่นอน บางทีอ่านไปตั้งนานก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก อย่างนี้เป็นเราขาดสมาธิ

เราจะสังเกตเห็นได้ว่า คนที่เรียนหนังสือเก่งนั้น พวกนี้มักจะมีสมาธิดีเป็นพิเศษ เวลาเรียนหนังสือหรืออ่านหนังสือ เขาจะทำอย่างตั้งอกตั้งใจ มีสมาธิต่อการเรียน หรือเวลาที่อ่านหนังสือจริงๆ จึงสามารถทำให้จดจำเนื้อหาในหนังสือได้อย่างแม่น น้องๆสนใจแล้วใช่ไหม เอาเลย สนใจก็ต้องลองกันเลย

เมื่อตื่นนอนมา ให้รีบชาร์จพลังแก่สมองก่อนเป็นอันดับแรก ชาร์จยังไง ให้ชาร์จโดยการนั่ง สมาธิ ตั้งสติอยู่ที่ลมหาย ใจเข้า-ออก พร้อมกับภาวนาว่า พุท-โธ กำกับไปด้วยหายใจเข้านึก “พุท” หายใจออกนึก “โธ” ทำอย่างนี้สัก 5 นาที 10 นาที แล้วจึงค่อยลุกจากที่นอนไป อาบน้ำ ทานข้าว แล้วไป โรงเรียน

เมื่อน้องๆเข้าห้องเรียนก่อนที่จะเริ่มเรียน ก็ควรตั้งสติกำหนด ลมหายใจตามแบบเดิมอีกสักระยะหนึ่ง มันจะช่วยทำให้สมองของน้องๆปลอดโปร่งขึ้น แต่การตั้งสติ กำหนดลมหายใจ หรือทำสมาธิในห้องเรียนนี้ ไม่ต้องถึงขนาดอยู่ในท่าขัดสมาธิขาขวาทับ ขาซ้าย มือขวาวางทับมือซ้ายหรอกนะ ให้นั่งตาม ปกตินั่นแหละ และไม่จำเป็นต้องหลับตาด้วย ลืมตาก็ทำได้ เป็นแต่เพียงให้มีสติรู้ลมหายใจอยู่ทุกระยะเท่านั้นเอง นึกถึงแต่ลมหายใจอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ต้องไปนึก ไม่ต้องไปคิด ทำจิตให้ว่าง เมื่อจบวิชาหนึ่ง จะขึ้นวิชาใหม่ ก็ให้ใช้แบบเดิมอีก เพื่อทำลายความวุ่นวายในจิตใจของน้องๆออกไป และเพื่อให้จิตใจเกิดความพร้อมในการที่จะรับเอาเนื้อหาสาระของวิชาใหม่ เวลาที่ทำการบ้าน แล้วเกิดคิดไม่ออกสมองตื้อ ก็ให้รีบหยุด แล้วทำความสงบในทันที ทำไปจนกว่าความเครียดทางสมองจะคลาย จิตใจรู้สึกปลอดโปร่ง จึงค่อยใช้ความคิดต่อไปใหม่

การทำแบบนี้ จะช่วยทำให้การคิดและการตัดสินใจดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะกับการเรียนหนังสือเท่านั้น แม้แต่การทำงานที่ต้องใช้สมอง ก็สามารถเอาวิธีนี้ไปใช้ได้เช่นกันแล้วก่อนนอนอย่าลืมนะ ให้ทำสมาธิไปด้วย ตั้งสติกำหนดลมหายใจไปจนกว่า จะหลับ หากทำได้เช่นนี้โดยสม่ำเสมอก็เชื่อได้แน่ว่า การเรียนของน้องๆ จะต้องดีขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างแน่นอนฉะนั้น ถ้าอยากเรียนดี ก็อย่าหนีการทำสมาธินะ

หลักทั่วไปในการทำสมาธินั้นพอจะสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

หลักทั่วไปในการทำสมาธินั้นพอจะสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1.) หาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำสมาธิให้มากที่สุดก่อนที่จะทำสมาธิ เพื่อจะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องลองผิดลองถูก และไม่หลงทาง ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ หรือเข้าใจผิด นอกจากนี้ยังป้องกันความฟุ้งซ่านที่อาจจะเกิดขึ้นจากความลังเลสงสัยอีกด้วย

2.) เลือกวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด แล้วลองทำไปสักระยะหนึ่งก่อน ถ้าทำแล้วสมาธิเกิดได้ยากก็ลองวิธีอื่นๆ ดูบ้าง เพราะจิตและลักษณะนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีที่เหมาะสมของแต่ละคนจึงต่างกันไป บางคนอาจจะเหมาะกับการตามดูลมหายใจ ซึ่งอาจจะใช้คำบริกรรมว่าพุทธ-โธ หรือ เข้า/ออก ประกอบ บางคนอาจจะเหมาะกับการแผ่เมตตา บางคนถนัดการเพ่งกสิณ เช่นเพ่งวงกลมสีขาว ฯลฯ

3.) อยู่ใกล้ผู้รู้ หรือรีบหาคนปรึกษาทันทีที่สงสัย เพื่อไม่ให้ความสงสัยมาทำให้จิตฟุ้งซ่าน

4.) พยายามตัดความกังวลทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นออกไปให้มากที่สุด โดยการทำงานทุกอย่างที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะทำสมาธิ หรือถ้าทำสมาธิไปแล้ว เกิดความกังวลถึงการงานใดขึ้นมา ก็ให้บอกกับตัวเองว่าตอนนี้เป็นเวลาทำสมาธิ ยังไม่ถึงเวลาทำงานอย่างอื่น เอาไว้ทำสมาธิเสร็จแล้วถึงไปทำงานเหล่านั้นก็ไม่เห็นเสียหายอะไร ถ้าแก้ความกังวลไม่หายจริงๆ ก็หยุดทำสมาธิแล้วรีบไปจัดการเรื่องนั้นๆ ให้เรียบร้อยก่อนก็ได้ ถ้าคิดว่าขืนนั่งต่อไปก็เสียเวลาเปล่า เมื่องานนั้นเสร็จแล้วก็รีบกลับมาทำสมาธิใหม่

5.) ก่อนนั่งสมาธิถ้าอาบน้ำได้ก็ควรอาบน้ำก่อน หรืออย่างน้อยก็ควรล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อนจะทำให้โล่งสบายตัว เมื่อกายสงบระงับ จิตก็จะสงบระงับได้ง่ายขึ้น

6.) ควรทำสมาธิในที่ที่เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ไม่พลุกพล่านจอแจ

7.) ก่อนนั่งสมาธิควรเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาช้าๆ โดยยึดจิตไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งในเท้า ข้างที่กำลังเคลื่อนไหว เช่น ปลายเท้า หรือส้นเท้า โดยควรมีคำบริกรรมประกอบ เช่น ขวา/ซ้าย ฯลฯ) หรือสวดมนต์ก่อน เพื่อให้จิตเป็นสมาธิในระดับหนึ่งก่อน จะทำให้นั่งสมาธิได้ง่ายขึ้น

8.) การนั่งสมาธินั้นควรนั่งในท่าขัดสมาธิ หลังตรง (ไม่นั่งพิงเพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย) หรือถ้าร่างกายไม่อำนวย ก็อาจจะนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ นั่งบนพื้นที่อ่อนนุ่มตามสมควร ทอดตาลงต่ำ ทำกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย อย่าเกร็ง (เพราะการเกร็งจะทำให้ปวดเมื่อย และจะทำให้จิตเกร็งตามไปด้วย) นั่งให้ร่างกายอยู่ในท่าที่สมดุล มั่นคง ไม่โยกโคลงได้ง่าย มือทั้ง 2 ข้างประสานกัน ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะกันเบาๆ วางไว้บนหน้าตัก หลับตาลงช้าๆ หลังจากนั้นส่งจิตไปสำรวจตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้ทั่วทั้งตัว เพื่อดูว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดที่เกร็งอยู่หรือไม่ ถ้าพบก็ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้หายเกร็ง โดยไล่จากปลายเท้าทีละข้าง ค่อยๆ สำรวจเลื่อนขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงสะโพก แล้วย้ายไปสำรวจที่ปลายเท้าอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน จากนั้นก็สำรวจจากสะโพก ไล่ขึ้นไปจนถึงยอดอก แล้วสำรวจจากปลายนิ้วมือทีละข้าง ไล่มาจนถึงไหล่ เมื่อทำครบสองข้างแล้ว ก็สำรวจไล่จากยอดอกขึ้นไปจนถึงปลายเส้นผม ก็จะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ทั่วร่างกาย จากนั้นหายใจเข้าออกลึกๆ สัก 3 รอบ โดยมีสติอยู่ที่ลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก พร้อมกับทำจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายลงเรื่อยๆ หลังจากนั้นจึงเริ่มทำสมาธิตามวิธีที่เลือกเอาไว้

9.) อย่าตั้งใจมากเกินไป อย่าไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนั้นวันนี้จะต้องได้ขั้นนั้นขั้นนี้ เพราะจะทำให้เคร่งเครียด จิตจะหยาบกระด้าง และจิตจะไม่อยู่กับปัจจุบัน เพราะมัวแต่ไปจดจ่ออยู่กับผลสำเร็จซึ่งยังไม่เกิดขึ้น จิตจะพุ่งไปที่อนาคต เมื่อจิตไม่อยู่ที่ปัจจุบันสมาธิก็ไม่เกิดขึ้น

ให้ทำใจให้สบายๆ ผ่อนคลาย คิดว่าได้แค่ไหนก็แค่นั้น แล้วค่อยๆ รวมจิตเข้ามาที่จุดที่ใช้ยึดจิตนั้น (เช่นลมหายใจ และคำบริกรรม) แล้วคอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนั้น (เช่น ความหยาบ/ละเอียด ความยาว ความลึก ความเย็น/ร้อน ของลมหายใจ) จิตก็จะอยู่ที่ปัจจุบัน แล้วสมาธิก็จะตามมาเอง ถ้าฟุ้งซ่านไปบ้างก็คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของจิต อย่ากังวล อย่าอารมณ์เสีย (จะทำให้จิตหยาบขึ้น) เพราะคนอื่นๆ ก็เป็นกันทั้งนั้น เมื่อรู้ตัวว่าฟุ้งออกไปแล้ว ก็ใจเย็นๆ กลับมาเริ่มทำสมาธิใหม่ แล้วจะดีขึ้นเรื่อยๆ เอง

10.) ใหม่ๆ ควรนั่งแต่น้อยก่อน เช่น 5 – 15 นาที แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 20, 30, 40, … นาที ตามลำดับ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อยๆ ปรับตัว เมื่อนั่งไปแล้วหากรู้สึกปวดขาหรือเป็นเหน็บ ก็ขอให้พยายามอดทนให้มากที่สุด ถ้าทนไม่ไหวจริงๆ จึงจะขยับ เพราะทุกครั้งที่มีการขยับตัวจะทำให้จิตกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ และโดยปรกติแล้วถ้าทนไปได้ถึงจุดหนึ่ง เมื่ออาการปวดหรือเป็นเหน็บนั้นเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการปวดหรือเป็นเหน็บนั้นก็จะหายไปเอง และมักจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่ ซึ่งเป็นอาการของปิติที่เกิดจากสมาธิ

11.) การทำสมาธินั้น เมื่อใช้สิ่งไหนเป็นเครื่องยึดจิต ก็ให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า ตัวเราทั้งหมดไปรวมเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ อยู่ที่จุดยึดจิตนั้น เช่น ถ้าใช้ลมหายใจ (อานาปานสติ) ก็ทำความรู้สึกว่าตัวเราทั้งหมดย่อส่วนเป็นตัวเล็กๆ ไปนั่งอยู่ที่จุดที่รู้สึกว่าลมกระทบอย่างชัดเจนที่สุด เช่นปลายรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือริมฝีปากบน เป็นต้น ให้ทำความรู้สึกที่จุดนั้นเพียงจุดเดียว ไม่ต้องเลื่อนตามลมหายใจ เหมือนเวลาเลื่อยไม้ ตาก็มองเฉพาะที่จุดที่เลื่อยสัมผัสกับไม้เพียงจุดเดียว ไม่ต้องมองตามใบเลื่อย ก็จะรู้ได้ว่าตอนนี้กำลังเลื่อยเข้าหรือเลื่อยออก เมื่อจิตอยู่ที่จุดลมกระทบเพียงจุดเดียว ก็จะรู้ทิศทาง และลักษณะของลมได้เช่นกัน

12.) ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็อย่าตกใจ อย่ากลัว อย่ากังวล เพราะทั้งหมดเป็นเพียงอาการของจิต พยายามตั้งสติเอาไว้ให้มั่นคง ตราบใดที่ไม่กลัว ไม่ตกใจ ไม่ขาดสติ ก็จะไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้น ทำใจให้เป็นปรกติ แล้วคอยสังเกตสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ถ้าเห็นภาพที่น่ากลัวปรากฏขึ้นมา หรือรู้สึกว่าได้สัมผัสกับสิ่งที่น่ากลัวใดๆ ก็ตาม ให้แผ่เมตตาให้สิ่งเหล่านั้น แล้วคิดว่าอย่าได้มารบกวนการปฏิบัติของเราเลย ถ้าไม่หายกลัวก็นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เป็นที่พึ่งทางใจ แล้วพยายามอย่าใส่ใจถึงสิ่งที่น่ากลัวนั้นอีก ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ตั้งสติเอาไว้ หายใจยาวๆ แล้วค่อยๆ ถอนจากสมาธิออกมา เมื่อใจเป็นปรกติแล้วถึงจะทำสมาธิใหม่อีกครั้ง สำหรับคนที่ตกใจง่าย ก็อาจนั่งสมาธิหน้าพระพุทธรูป หรือนั่งโดยมีเพื่อนอยู่ด้วย ก่อนนั่งก็ควรสวดมนต์ไหว้พระก่อน แล้วอธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครอง

13.) ถ้าจิตไม่สงบ ก็ลองแก้ไขตามวิธีที่ได้อธิบายเอาไว้ในเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ซึ่งได้อธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว

14.) เมื่อจะออกจากสมาธิ ควรแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายก่อน โดยการระลึกถึงความปรารถนาให้ผู้อื่น และสัตว์ทั้งหลายมีความสุขด้วยใจจริง จากนั้นก็อุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการทำสมาธินั้น ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (ระลึกให้ด้วยใจ) แล้วหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก 3 รอบ พร้อมกับค่อยๆ ถอนความรู้สึกจากสมาธิช้าๆ เสร็จแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้น บิดเนื้อบิดตัวคลายความปวดเมื่อย แล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้นยืนช้าๆ

15.) เมื่อตั้งใจจะทำสมาธิให้จริงจัง ควรงดเว้นจากการพูดคุยให้มากที่สุด เว้นแต่เพื่อให้คลายความสงสัยที่ค้างคาอยู่ในใจ เพราะการคุยกันนั้นจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน คือในขณะคุยกันก็มีโอกาสทำให้เกิดกิเลสขึ้นมาได้ ทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น และเมื่อทำสมาธิก็จะเก็บมาคิด ทำให้ทำสมาธิได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการคุยกับคนที่สมาธิน้อยกว่าเรา นอกจากนี้ ควรเว้นจากการร้องรำทำเพลง การฟังเพลง รวมถึงการดูการละเล่นทั้งหลาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มกามฉันทะ ซึ่งเป็นนิวรณ์ชนิดหนึ่ง (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ) อันเป็นอุปสรรคต่อการทำสมาธิ

ประโยชน์จากการนั่งสมาธิ ฝึกจิต

ในยุคที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขัน และความวุ่นวายมากมาย ทำให้ใครหลายคนหันหน้าเข้าหาธรรมะ และเลือกพักผ่อนจิตใจตัวเองด้วยการนั่งสมาธิ ซึ่งสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะสมาธิไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์เฉพาะผู้ที่ฝึกเป็นประจำเท่านั้น ยังส่งผลทางบวกไปยังบุคคลรอบตัว สังคม ประเทศชาติและศาสนาอีกด้วย

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการนั่งสมาธิ ฝึกจิต มีดังนี้

-ช่วยให้จิตใจผ่องใส อ่อนโยน เพราะการทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจนิ่งสงบ สามารถตามทันทุกอารมณ์และยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจในตัว ทำให้เป็นคนสุขุมนุ่มลึก ใจเย็น อ่อนโยนและมองโลกรอบตัวในแง่ดีงามมากขึ้น อารมณ์ก็จะแจ่มใส และยังส่งผลให้สุขภาพดีตามมาอีกด้วย

-ลดอารมณ์โกรธ เพราะการหมั่นฝึกสมาธิบ่อยๆ จะทำให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองได้ดี ทุกสิ่งที่คิด พูดและทำจะมาพร้อมสติอยู่เสมอ

-ช่วยให้ความจำดีและสมองทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการหมั่นทำสมาธิบ่อยๆ ย่อมช่วยเสริมสร้างทั้งความจำดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดสมาธิ ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ สติจะสอนสั่งให้เราดำเนินชีวิตอย่างละเมียดละไมมากขึ้น

-ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ผ่องใส เมื่อทำแบบนี้สม่ำเสมอ ก็ย่อมช่วยให้ออกซิเจนเข้ามาฟอกเลือดภายในร่างกายได้ เป็นการดีท็อกซ์สารพิษในตัว ส่งผลให้สมองไบรท์ คิดอะไรก็ลื่นไหลและยังช่วยบำบัดทุกข์ ผ่อนคลายความเครียดได้

-ช่วยผ่อนคลายความเครียด เนื่องจากการทำสมาธิเมื่อจิตใจนิ่งมากๆนั้นจะช่ วยผ่อนคลายความเครียดได้อย่างปลิดทิ้งทันตาและยังทำให้เรามีจิตใจสงบเยือกเย็น และมีความสุข

-ทำให้มีความสุข เพราะการฝึกสมาธินั้นจะทำให้อารมณ์ดีสดใส ยิ่งฝึกสมาธิมากใจก็จะยิ่งผ่อนคลาย สุขสงบมาก

-สุขภาพดี บำบัดโรคได้ เพราะการฝึกสมาธิจะช่วยบำบัดโรคและสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงอายุยืนยาวได้ ดังนั้น หากใครอยากมีสุขภาพดี อายุยืนจะต้องทำสมาธิบ่อยๆ ควบคู่กับการกินอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอยู่เสมอ

-ทำให้ได้บุญ เพราะเวลาที่เราทำสมาธิหลายคนมักจะเตรียมตัวเริ่มทำด้วยการสวดมนต์เพื่อกล่อมใจให้สงบ จากนั้นก็มานั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์

การฝึกจิตขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ

Meditation_practice1
การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือการฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่เรากระทำ โดยระลึกอยู่เสมอว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีสมาธินั่นเอง เป็นการควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะหยุดทำสมาธิ ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็นกุศล ลักษณะของสมาธิคือจิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง และมีความสุข

ทุกคนควรมีการฝึกฝนจิตใจเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นวิธีการผ่อนคลายได้อย่างง่ายดาย การฝึกจิตทำให้ท่านสร้างทัศนคติและตอบสนองชีวิตแบบใหม่ ท่านสามารถเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่าง
การฝึกจิตคือขบวนการฟื้นฟูชีวิต สร้างความพอใจ และใช้พรสวรรค์หรือความชำนาญพิเศษของตนเอง ในทางที่ดีการฝึกจิตต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อได้รับสิ่งที่ดีงาม และมีผลลัพธ์ที่พอใจ โดยการฝึกจิตวันละนิดทุกๆวัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น

ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน

– หาเวลาว่างสำหรับตนเองทุก ๆ เช้าและเย็น 10 หรือ 20 นาที
– หาสถานที่ที่สงบเพื่อให้มีการผ่อนคลาย ใช้แสงไฟหรี่ๆ และใช้เสียงเพลงเบาๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม
– นั่งตัวตรงในท่าที่สบายๆบนพื้นหรือบนเก้าอี้
– ไม่หลับตา และไม่เปิดตาเกินไป มองไปยังจุดใดจุดหนึ่งข้างหน้า
– หันความสนใจของท่านจากการเห็นและการได้ยินเพื่อเข้าไปสู่ภายในตนเองอย่างช้า ๆ
– เฝ้าสังเกตการณ์ความคิดของท่านเอง
– ไม่ควรพยายามที่จะหยุดคิด เพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่วิจารณ์หรือขจัดความคิดออกไป เพียงแต่เฝ้าดู
– ค่อย ๆ ทำให้ความคิดช้าลง และแล้วท่านจะเริ่มรู้สึกสงบมากขึ้น
– สร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง ให้มีเพียงความคิดเดียว เช่น ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
– นำความคิดนั้นไปสู่ฉากของจิตใจ จินตนาการว่าตนเองเต็มไปด้วยความสงบ เงียบ และนิ่ง
– อยู่ในความคิดนั้นให้นานเท่าที่ทำได้ อย่าได้ต่อสู้กับความคิดอื่น หรือความทรงจำที่อาจเข้ามารบกวน
– ยอมรับและพอใจในความคิดและความรู้สึกที่เป็นบวก ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเพียงหนึ่งความคิด
– มั่นคงอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้ซักครู่ จงระวังความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง
– สิ้นสุดการฝึกจิตของท่านโดยปิดตาของท่านซักครู่หนึ่ง และสร้างความสงบในจิตใจของท่านอย่างสมบูรณ์

หลักการทำสมาธิแก้กรรมที่ส่งถึงผู้รับ

คนเราทุกคนมีกรรมตั้งแต่ชาติปางก่อนซึ่งมาในชาตินี้เราก็ไม่สามารถจำได้เลยว่าเราเคยไปทำอะไรไว้กับใครให้เกิดความอาฆาตแค้นจนเป็นผลกรรมมาถึงในชาตินี้ ซึ่งเค้าคนนั้นก็จะตามหาเราแล้วก็กระทำกับเราจนถึงตายหรือทรมานจนกว่าเค้าจะพอใจ พอเราตายไปแล้วเจ้ากรรมนายเวรก็จะเข้ามาคุยกับเราว่าชาติก่อนเราเคยทำกับเค้าไว้ชาตินี้จึงต้องมาเอาคืน ถ้ายอมความกันได้ก็จบกันไปแต่ถ้าไม่ยอมเราก็จะกลายเป็นเจ้ากรรมนายเวรเค้าไปในชาติภพหน้า ซึ่งทุกคนมีเจ้ากรรมนายเวรติดตัวมาทั้งนั้น เพราะเราไม่รู้ว่าชาติที่แล้วเราไปทำอะไรไม่ดี หรือแม้แต่ชาตินี้เองก็ตาม ในวัยเด็ก หรือในช่วงแต่เราอายุขัย เราอาจทำไปโดยไม่รู้ตัว ไร้เดียงสา หรือเหตุการณ์บังคับ อะไรก็แล้วแต่

การที่เราตั้งจิตสื่อถึงเจ้ากรรมนายเวรนั้นเพื่อให้เขากลับมาหาเราและเราก็บอกว่าเราสำนึกแล้ว ซึ่งขอให้เขานำสิ่งที่เกิดขึ้นกลับไป ก็เหมือนให้เขามาต่อแก้วคืนให้เป็นทรงเดิม ซึ่งจะต่อได้รึเปล่าขึ้นอยู่กับบุญที่เคยทำมาด้วย และสิ่งที่เราประสบอยู่เหมือนแก้วว่าแตกละเอียดไปแล้วแค่ไหน การขออโหสิกรรมควรทำควบคู่ไปกับการทำบุญ บางคนทำแต่บุญตรงนี้คุณได้บุญแต่ว่ากรรมคุณก็มี การที่คนเรามีเจ้ากรรมนายเวรเปรียบเหมือนเราติดหนี้ เรามีเจ้าหนี้ หากเราทำบุญอย่างเดียวก็เหมือนกับเร่งหาเงินแต่ไม่เคยนึกถึงเลยว่ายังติดหนี้ใครไว้บ้าง

การทำสมาธิสื่อถึงเจ้ากรรมนายเวรสำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติควรทำช่วงที่จิตและร่างกายสมบูรณ์ ซึ่งช่วงที่ว่านั้นส่วนมากเป็นช่วงเช้าหรืออยู่ในช่วงกลางวัน ช่วงกลางคืนจิตคนเราอาจจะอ่อนตามร่างกายที่ทำงานมาทั้งวันเพราะคนเราจิตกับร่างกายสัมพันธ์กันเมื่อร่างกายอ่อนเพลียจิตก็อาจจะอ่อนตามกัน การที่คนเราจะมีสมาธิได้นั้นต้องมีพื้นฐานของความดีเป็นทุนเดิมก่อนก็คือการให้ทานและรักษาศีล 5 ตรงจุดนี้จะทำให้การนั่งสมาธิของเราง่ายยิ่งขึ้น โดยวิธีการนั่งสมาธินั้นให้เราทำจิตใจให้สงบเหมือนตอนใกล้จะนอนหลับเพราะว่าช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่จิตใจสงบไม่ค่อยคิดอะไรมากแต่ต้องมีสติรู้ว่าตอนนี้เรากำลังนั่งสมาธิอยู่มีสติรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้างหลังจากนั้นจิตเราก็จะนิ่งพอที่จะสื่อถึงเจ้ากรรมนายเวรได้

การนั่งสมาธิแก้กรรมนั้นเราสามารถทำกันได้ทุกคนแต่มีข้อแม้ว่าต้องทำเฉพาะช่วงกลางวันระหว่าง 6 โมงเช้าไปจนถึงก่อนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น เพราะหากทำนอกเหนือเวลาดังกล่าวโอกาสที่เราจะสื่อถึงเจ้ากรรมนายเวรนั้นก็มีแต่โอกาสที่จะถึงสิ่งอื่นก็มีด้วย สัมภเวสีหรือพวกวิญญาณเร่ร่อนที่ไม่มีพลังเป็นของตัวเองเนื่องจากตอนที่มีชีวิตไม่เคยปฏิบัติสมาธิ พอตายไปก็ไม่สามารถรวบรวมจิตที่แตกไปให้กลับมารวมกันได้ พอเค้าเห็นว่าใครกำลังทำสมาธิก็จะมาขอผลบุญ ถ้าเค้ามาถึงก่อนเจ้ากรรมนายเวรของเราก็เท่ากับว่าการนั่งสมาธิครั้งนั้นไม่มีค่าอะไรเลยอีกทั้งยังอาจส่งผลเสียอีกด้วย

การบำบัดทางจิตหรือลองฝึกสมาธิมาก่อนจะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ

35

บางครั้งที่เราเจอปัญหา หรืออะไรมาสะกิดใจเพียงนิดเดียว ก็เกิดอาการควบคุมจิตใจไม่ได้ เกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย มีเรื่องรบกวนไปเสียหมด นั่นเพราะไม่เคยรับการบำบัดทางจิต หรือลองฝึกสมาธิมาก่อน หลายคนที่เคยลองฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ จะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และยังมีสติ ทำอะไรด้วยความไม่ประมาทด้วย วันนี้ เราขอชวนเพื่อน ๆ มาลองฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดู ซึ่งโดยปกติแล้ว “สมาธิ” มีหลายประเภท แต่สมาธิที่ฝึกง่ายที่สุด ประหยัดเวลา และได้ผลที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปฏิบัติ ก็คือ “อานาปานสติ” หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่เราส่วนใหญ่ก็เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั่นเอง โดยหลักการฝึกสมาธิเบื้องต้นแบบง่าย ๆ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ควรอาบน้ำ ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อน เพื่อให้ตัวรู้สึกสบายมากที่สุด เมื่อร่างกายสงบ จิตใจจะสงบได้ง่ายขึ้นหาสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่านจอแจ อากาศถ่ายเท เย็นสบาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมากขึ้นพยายามตัดความกังวลทุกอย่างออกไป เช่น ควรจัดการงานที่คั่งค้างอยู่ในเสร็จก่อนเริ่มทำสมาธิ เพื่อไม่ให้ห่วงหน้าพะวงหลังอย่าตั้งใจมากเกินไป ว่าจะต้องให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเคร่งเครียดมากขึ้น จิตใจจะพะวงไปแต่อนาคต ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ ณ ปัจจุบัน

กราบบูชาพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ ควรนั่งทำสมาธิในท่าขัดสมาธิ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย วางไว้บนตัก หลังตรง ศีรษะตรง ไม่ควรนั่งพิง เพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย กรณีเป็นคนป่วย หรือคนที่ไม่สามารถนั่งท่าขัดสมาธิได้ ก็สามารถนั่งบนเก้าอี้แทนได้ จากนั้นทอดตาลงต่ำ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้ร่างกายปวดเมื่อย แล้วค่อย ๆ หลับตาลง ส่งจิตไปให้ทั่วร่างกาย ว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดเกร็งอยู่หรือไม่ แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ลึก ๆ มี “สติ” อยู่กับลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก เมื่อเริ่มฝึกสมาธิใหม่ ๆ ควรใช้เวลาแต่น้อยก่อน เช่น 5-15 นาที จากนั้นเมื่อฝึกบ่อย ๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มระยะเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อย ๆ ปรับตัวตาม หากรู้สึกปวดขา หรือเป็นเหน็บ ให้พยายามอดทนให้มากที่สุด หากทนไม่ไหวจึงค่อยขยับ แต่ควรขยับให้น้อยที่สุด เพราะการขยับแต่ละครั้งจะทำให้จิตใจกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ แต่ถ้าหากอดทนจนอาการปวด หรือเป็นเหน็บเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการเหล่านั้นจะหายไปเอง แล้วจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่

การฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน

34

มีความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามแนวทางพุทธศาสนาในหมู่คนที่มิใช่ชาวพุทธหรือแม้แต่ในชาวพุทธบางกลุ่ม ที่มีความเห็นว่า การฝึกสมาธิเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นการหนีโลกหนีความจริงในการดำเนินชีวิตประจำวันการที่มีความเห็นเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากมีความเข้าใจในเป้าหมายของการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามหลักทางพุทธศาสนายังไม่ถูกต้อง โดยนำไปปะปนกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบนั่งหลับตาสวดมนต์ท่องบ่นคาถาอ้อนวอนเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการทำสมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนาที่มุ่งเพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตให้เกิดความสงบ มีดุลยภาพต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันอีกประการหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจคือการปฏิบัติที่มุ่งฝึกสมาธิในระดับสูงขึ้นโดยการปลีกวิเวกแสวงหาที่สงบเงียบในบรรยากาศที่สงัด แม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการหลงยึดติดอยู่แค่นั้น ก็๋ยังนับว่าเป็นอุปสรรคต่อความเห็นแจ้งในสัจธรรมตามหลักการทำสมาธิในทางพุทธศาสนา

ตามความหมายที่แท้จริงนั้น สมาธิ หมายถึง การภาวนาหรือการพัฒนาระดับของจิตใจ เพราะว่าจิตเป็นตัวกำหนด เป็นตัวควบคุมและเป็นตัวปรุงแต่ง ที่มีความสำคัญต่อการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ก็ตาม ดังนั้นจิตที่ได้รับการฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน แม้ว่านิพพานนั้นอาจจะยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาซึ่งคนส่วนใหญ่มุ่งหวังเพียงเพื่อแสวงหาประโยชน์สุขในระดับโลกิยะ ในทางพุทธศาสนา มีเป้าหมายในการทำสมาธิอยู่ 2 ประการคือเพื่อ ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ เพื่อการแสวงหาความสงบสุขระหว่างที่อยู่ในระยะการปฏิบัติสมาธิ เช่นเมื่อบรรลุฌาน 4 ในชั้นรูปฌาน จะเสพอารมณ์ ปีติ สุข สงบ ไปจนถึงความสุขอันประณีตในชั้นอรูปฌาน อันได้แก่ ความสว่างอันสงบ หรือความสุขในการสำเร็จอภิญญาจากการปฏิบัติ กับอีกเป้าหมายหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุด คือ เพื่อใช้เป็นฐานนำไปสู่การปฏิวัติวิปัสสนาภาวนาด้วยการนำ สติ สัมปชัญญะ และ ปัญญา มาเพ่งพินิจพิจารณาเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

การฝึกสมาธิเพื่อคุณภาพการดำรงชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น


หลายๆ อย่างในโลกเราทุกวันนี้ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมามาก ยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารแบบทุกวันนี้แล้ว เราได้รับข้อมูลต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องการงาน เรื่องเรียน เรื่องทั่วไป เรื่องกีฬา การเมือง ต่างๆ บางครั้งการรับรู้รับเห็น รวมทั้งการทำงานของเราที่ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็ทำให้เราเกิดความเครียด เกิดความวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว กังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว กังวลต่อสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ทุกสิ่งอย่างเหล่านี้ก่อเกิดผลเสียกับร่างกายทีละน้อยๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยความเคยชิน หรือแม้แต่ไม่รู้เท่าทันสิ่งที่บั่นทอนชีวิตเราเหล่านั้นอยู่ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า มีวิธีการที่เราสามารถป้องกันตัวจากผลเสียเหล่านั้นได้ นั่นคือการนั่งสมาธิ หรือการทำสมาธินั่นเองค่ะ

การทำสมาธิ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ของการกระทำกิจกรรมการใดทั้งปวง หากทำสิ่งใดโดยขาดสมาธิ ย่อมประสบผลเสียไม่มากก็น้อย การทำสมาธิโดยปกติชีวิตประจำวัน คงไม่ต้องถึงกับต้องนั่งสมาธิก่อน ทำกิจกรรมต่างๆ แต่ควรฝึกการทำและมีสมาธิมาจากการนั่งก่อน เพื่อความคล่องแคล่วในสมาธิ จากนั้น จึงพัฒนาเป็นการเดินหรือเพ่งกสิณต่อไปเพื่อปฏิบัติที่ยิ่งกว่า เพียงนั่งสมาธิ จนสามารถควบคุมสมาธิ ได้คล่องบ้าง แม้ทำกิจกรรมใดย่อมสามารถรวบรวมสมาธิได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึก เป็นผลโดยตรง ของความเจริญก้าวหน้าในการงาน การดำรงชีวิต และการปฏิบัติธรรมะขั้นสูง

ประโยชน์ที่ได้จากการนั่งสมาธิ
เรียกได้ว่าการทำสมาธิเป็นสิ่งมหัศจรรย์แบบไม่ต้องจ่ายเงินเลยทีเดียว (อาจจะทำให้จ่ายเงินน้อยลงด้วยซ้ำไป) เพราะไม่ได้ต้องการอุปกรณ์อะไรเลย สมาธิทำให้สมองปลอดโปร่ง เมื่อสมองมีสมาธิ คลื่นไฟฟ้าสมองชนิดดีที่ทำให้สมองสงบจะเพิ่มขึ้น ความสับสนวุ่นวายในสมองก็จะลดลง เมื่อความสับสนลดลงก็จะทำให้อารมณ์ดี จิตใจดี ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่ขี้กลัวแตกตื่นโดยไม่มีเหตุผลอันควร มองโลกในแง่ดี มีผลให้พูดจาอะไรกับใครก็น่ารักน่าฟัง เลือดไหลเวียนสู่สมองได้ดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง (ตรงกันข้ามกับอาการตื่นเต้นตกใจ เร่งเร้าให้ต้องตัดสินใจ) หลอดเลือดทำงานเบาลง ความดันโลหิตลดลง นอกจากนี้สมาธิที่ดียังกระตุ้นให้ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อการติดเชื้อมากกว่าด้วยค่ะ